คำนวณโดยใช้จักรราศีแบบสายนะ (Tropical Zodiac) ที่ใช้ในโหราศาสตร์สากล (ซึ่งจะไม่ตรงกับจักรราศีนิรายนะที่ใช้ในโหราศาสตร์ไทย) และบอกเวลา ณ เวลามาตรฐานประเทศไทย คำนวณลัคนาและเมอริเดียน ณ กรุงเทพฯ
ปี พ.ศ.2557 หรือ ค.ศ. 2014 มีอุปราคา หรือ คราส (Eclipse) เกิดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (น้อยกว่า ปี 2556 ที่เกิด 5 ครั้ง) ดังต่อไปนี้
1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เม.ย. 2557 เวลา 14:42 น. ตำแหน่งคราส 25 ตุล 15 ขนาดคราส 1.291 ซารอสที่ 122 มองไม่เห็นในประเทศไทย
2. สุริยุปราคาวงแหวน ซึ่งเส้นศูนย์กลางไม่สัมผัสพื้นผิวโลก (Non-central Annular Solar Eclipse) 29 เม.ย. 2557 เวลา 13:14 น. ตำแหน่งคราส 8 พฤษภ 51 ซารอสที่ 148 มองไม่เห็นในประเทศไทย
3. จันทรุปราคาเต็มดวง 8 ต.ค. 2557 เวลา 17:50 น. ตำแหน่งคราส 15 เมษ 05 ขนาดของคราส 1.166 ซารอสที่ 127 มองเห็นในประเทศไทยช่วงหัวค่ำ
4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ต.ค. 2557 เวลา 4:56 น. ตำแหน่งคราส 0 พิจิก 24 ขนาดของคราส 0.811 ซารอสที่ 153 มองไม่เห็นในประเทศไทย
วันเวลาที่ดวงอาทิตย์ย้ายเข้าจรราศี (Cardinal Ingresses of the Sun) เพื่อคำนวณดวงชะตาแต่ละไตรมาส ได้แก่
1. วสันตวิษุวัต (Spring Equinox) 20 มี.ค. 2557 เวลา 23:57 น. ลัคนา 18 ธนู 02 เมอริเดียน 22 กันย์ 18
2. ครีษมายัน (Summer Solstice) 21 มิ.ย. 2557 เวลา 17:51 น. ลัคนา 17 ธนู 59 เมอริเดียน 22 กันย์ 15
3. ศารทวิษุวัต (Autumn Equinox) 23 ก.ย. 2557 เวลา 9:29 น. ลัคนา 17 พิจิก 47 เมอริเดียน 17 สิงห์ 12
4. เหมายัน (Winter Solstice) 22 ธ.ค. 2557 เวลา 6:03 น. ลัคนา 21 ธนู 27 เมอริเดียน 26 กันย์ 24
ข้อสังเกต ลัคนาและเมอริเดียนของไตรมาส 2 และ 3 อยู่ตำแหน่งเดียวกัน คือ ลัคนา 17 ธนู และเมอริเดียน 22 กันย์
ลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ ในปี 2557
ดาวพุธ โคจรพักร์ (ถอยหลัง) ในปี 2557 ทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่ 1 ถอยหลังระหว่าง 7 ก.พ. 2557 เวลา 4:43 น. จนถึง 28 ก.พ. 2557 เวลา 21:00 น.
- ครั้งที่ 2 ถอยหลังระหว่าง 7 มิ.ย. 2557 เวลา 18:56 น. จนถึง 1 ก.ค. 2557 เวลา 19:50 น.
- ครั้งที่ 3 ถอยหลังระหว่าง 5 ต.ค. 2557 เวลา 0:02 น. จนถึง 26 ต.ค. 2557 เวลา 2:17 น.
ดาวศุกร์ ขณะนี้ถอยหลังอยู่ จะเริ่มเดินหน้า 1 ก.พ. 2557 เวลา 3:49 น.
ดาวอังคาร ตอนนี้เดินหน้าอยู่ราศีตุล และจะโคจรถอยหลัง ระหว่าง 1 มี.ค. 2557 เวลา 23:23 น. จนถึง 20 พ.ค. 2557 เวลา 8:31 น. ก็เดินหน้าต่อ
- ยกจากราศีตุลเข้าราศีพิจิก 26 ก.ค. 2557 เวลา 9:25 น.
- ยกจากราศีพิจิกเข้าราศีธนู 14 ก.ย. 2557 เวลา 4:57 น.
- ยกจากราศีธนูเข้าราศีมกร 26 ต.ค. 2557 เวลา 17:43 น.
- ยกจากราศีมกรเข้าราศีกุมภ์ 5 ธ.ค. 2557 เวลา 6:57 น.
ดาวพฤหัส ตอนนี้โคจรถอยหลังในราศีกรกฎ ตั้งแต่เมื่อ 7 พ.ย. 2556 เวลา 12:03 น. และจะเริ่มโคจรเดินหน้าในวันที่ 6 มี.ค. 2557 เวลา 17:42 น.
ยกจากราศีกรกฎเข้าราศีสิงห์ 16 ก.ค. 2557 เวลา 17:30 น. โดยจะเริ่มโคจรถอยหลังในวันที่ 9 ธ.ค. 2557 เวลา 3:41 น.
ดาวเสาร์ ตอนนี้อยู่ในราศีพิจิก จะโคจรถอยหลัง ระหว่าง 2 มี.ค. 2557 เวลา 23:19 น. จนถึง 21 ก.ค. 2557 เวลา 3:35 น.
ยกจากราศีพิจิกเข้าราศีธนู 23 ธ.ค. 2557 เวลา 23:34 น.
ดาวมฤตยู (หรือยูเรนัส) ตอนนี้โคจรอยู่ในราศีเมษ จะโคจรถอยหลังระหว่าง 22 ก.ค. 2557 เวลา 9:53 น. จนถึง 22 ธ.ค. 2557 เวลา 5:44 น.
ดาวเนปจูน ตอนนี้โคจรอยู่ในราศีมีน จะโคจรถอยหลังระหว่าง 10 มิ.ย. 2557 เวลา 2:49 น. จนถึง 16 พ.ย. 2557 เวลา 14:05 น.
ดาวพลูโต ตอนนี้โคจรอยู่ในราศีมกร จะโคจรถอยหลังระหว่าง 15 เม.ย. 2557 เวลา 6:47 น. จนถึง 23 ก.ย. 2557 เวลา 7:36 น.
ราหูจริง (True Node) ตอนนี้อยู่ในราศีพิจิก และจะย้ายเข้าราศีตุล ในวันที่ 18 ก.พ. 2557 เวลา 21:50 น.
การทำมุมสำคัญของดาวเคราะห์ชั้นนอกและดาวทิพย์
เฉพาะมุมกุม เล็ง ฉาก และตรีโกณ
- 31 ม.ค. 2557 พฤหัส เล็ง พลูโต
- 9 ก.พ. 2557 พฤหัส ตรีโกณ โพไซดอน
- 26 ก.พ. 2557 พฤหัส ฉาก มฤตยู
- 28 มี.ค. 2557 พฤหัส ตรีโกณ โพไซดอน
- 20 เม.ย. 2557 พฤหัส ฉาก มฤตยู
- 21 เม.ย. 2557 พฤหัส เล็ง พลูโต
- 22 เม.ย. 2557 มฤตยู ฉาก พลูโต
- 4 พ.ค. 2557 พฤหัส ฉาก เซอุส
- 25 พ.ค. 2557 พฤหัส ตรีโกณ เสาร์
- 26 พ.ค. 2557 มฤตยู เล็ง เซอุส
- 7 ก.ค. 2557 พฤหัส กุม วัลคานุส
- 11 ก.ค. 2557 พฤหัส ฉาก อพอลลอน
- 2 ก.ย. 2557 พฤหัส ฉาก โพไซดอน
- 6 ก.ย. 2557 มฤตยู เล็ง เซอุส
- 26 ก.ย. 2557 พฤหัส ตรีโกณ มฤตยู
- 7 ธ.ค. 2557 เสาร์ เล็ง แอดเมตอส
- 13 ธ.ค. 2557 เสาร์ ตรีโกณ วัลคานุส
- 15 ธ.ค. 2557 มฤตยู ฉาก พลูโต
ข้อสังเกตคือ 20-22 เม.ย. 2557 อังคาร พฤหัส มฤตยู พลูโต ทำมุมจตุโกณใหญ่ (Grand Cross) ที่ตำแหน่ง 13 องศา เมษ กรกฎ ตุล มกร ซึ่งตรงกับตำแหน่งอาทิตย์กำเนิดของประเทศสหรัฐอเมริกา (13 กรกฎ) น่าจะเกิดเหตุการณ์สำคัญในประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาพตำแหน่งดาวเคราะห์บนแผนที่โลก ณ วันที่ดวงอาทิตย์ยกเข้าราศีมกร 22 ธ.ค. 2556 เวลา 0:11 น.
ข้อสังเกตคือ ฮาเดสกุมเมอริเดียนจรของประเทศกัมพูชา และอาทิตย์กุมเมอริเดียนจรสหรัฐอเมริกา โดยมีมฤตยูอยู่เรือนที่ 1