วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี หรือที่ชาวต่างประเทศรู้จักกันในนาม King Mongkut ตามพระนามเดิม “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร” เรียกกันสั้นๆว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย อันเนื่องจากพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์

ตำราดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ ๔
ตำราดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ ๔

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล พระองค์ทรงวางรากฐานที่จะนำวิทยาการใหม่ของตะวันตก ตลอดจนความรู้ทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศอย่างระมัดระวัง และดัดแปลงให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ของประเทศ สิ่งใดแปลกใหม่ แม้ไม่ทรงได้เคยรู้มาก่อน ก็ทรงตั้งพระทัยติดตามศึกษาหาความรู้ด้วยน้ำพระทัยของนักวิทยาศาสตร์

มีหลักฐานหลายประการที่แสดงถึงการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ของชาติมหาอำนาจในยุคนั้น ได้แก่

1. พระองค์ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายพระเกียรติ ให้ทรงเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ของสัตววิทยาสมาคม (Zoological Society) แห่งสหราชอาณาจักร

2. ประมุขของต่างประเทศตระหนักดีว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของวิทยาศาสตร์ เครื่องราชบรรณาการส่วนมากเป็นเครื่องมือและหนังสือทางวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย เช่น พระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ ซึ่ง เซอร์ จอห์น เบาริง ได้บันทึกว่า “กล้องที่นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้ว”

3. พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตแห่งสหราชอาณาจักรเขียนเล่าไว้ว่า ห้องส่วนพระองค์เป็นห้องที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับห้องนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มั่งคั่ง ในทวีปยุโรปสมัยนั้น และหมอเหา (Dr. House) ได้บันทึกรายละเอียดไว้จากที่เขาได้เฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ไว้ว่า “ข้าพเจ้าได้เหลียวมองไปรอบๆ ห้อง และเห็นพระคัมภีร์ไบเบิลของสมาคม เอ. บี.(A.B. Society) และพจนา-นุกรมเวบสเตอร์ตั้งเคียงบนชั้นบนโต๊ะเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีตารางดาราศาสตร ์และการเดินเรือวางอยู่ด้วยส่วนข้างบนอีกโต๊ะหนึ่งมีแผงผังอุปราคาที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไป มีรายการคำนวนเขียนไว้ด้วยดินสอ นอกจากนั้นยังมีแบบลอกแผนที่ของ นายชานเดลอร์ (Mr. Chandler) วางอยู่ด้วย” (มอฟแฟ็ท 2520 : 27)

พระจอมเกล้ากับสุริยุปราคา 18 ส.ค. 2411
พระจอมเกล้ากับสุริยุปราคา 18 ส.ค. 2411

ประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อันมีที่มาจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาการคำนวณและทรงประกาศผลการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นล่วงหน้า 2 ปี อีกทั้งได้เชิญคณะสำรวจทั้งจากสิงคโปร์ อังกฤษ และฝรั่งเศส เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สุริยุปราคาครั้งนั้น ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที แต่แล้วการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นก็ทำให้พระองค์ทรงประชวรเนื่องจากได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม

ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น “King of Siam’s Eclipse”

นอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยแล้ว พระองค์ยังทรงพระปรีชาสามารถทางโหราศาสตร์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะการวางหลักเมืองใหม่เพื่อแก้ดวงเมืองให้พ้นจากภัยจากตะวันตก และการแต่งตั้งพระอนุชาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อแก้เคล็ด โดยทีมงานคนมองฟ้าจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป

ที่มา
http://www.kingmongkut.com
thaiastro.nectec.or.th

สนใจดูดวงสดๆทางโทรศัพท์กับ คนมองฟ้าพยากรณ์ โทรมาที่ 1900 888 055

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s